• Call Center : 0 2 - 0 5 6 - 1 1 1 8

Posts By :

admin

6 อาการ ที่บอกว่าคุณเป็นออฟฟิตซินโดรม

500 494 admin

สำหรับวัยทำงานหลายคนในยุคสมัยปัจจุบันอาจกำลังตกอยู่ในภาวะ ออฟฟิศซินโดรม” (office syndrome) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ หรือนั่งไม่ถูกวิธี กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีการผ่อนคลาย การจ้องคอมนานๆ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนทำงานหนักเกินไป ทำให้เกิดความเครียดร่วมด้วย ซึ่งหากไม่บำบัดรักษาหรือป้องกันตั้งแต่ต้น อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพในภายหลังได้

อาการแบบไหนที่เข้าข่ายผู้ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

  • เกิดการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนโดยคุณไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน ตรงบริเวณคอ บ่า ไหล่ และสะบัก
  • มีอาการปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรังหรือในบางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุเกิดจากความเครียดและการใช้สายตาจดจ่อบนหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน
  • ปวดหลังเนื่องจากต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อีกทั้งวิธีท่านั่งก็ไม่ถูกสรีระซะทีเดียว โดยผู้มีอาการมักนั่งหลังค่อม ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นคอเมื่อยล้าและยึดเกร็งอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงยืนทำงานในออฟฟิศเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลังจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นเดียวกัน
  • มีอาการปวดหรือเกิดเหน็บชาบริเวณขาลงมาซึ่งสาเหตุมาจากการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและการไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ
  • ตาล้าพร่ามัวเนื่องจากการที่ต้องใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • มีอาการมือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือโดยสาเหตุมาจากการจับเมาส์ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือหรือนิ้วมืออักเสบได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดอาการมือชา จากภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทมีเดียน(median nerve) ได้อีกด้วย

แนวทางการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

ในปัจจุบันการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถกระทำได้หลากหลายวิธี โดยเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดนั่นคือ การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ผนวกกับการรับประทานยารักษา แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องทำกายภาพบำบัดด้วยอุปกรณ์ชนิดพิเศษ การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี การฝังเข็มแบบสลายจุดปวด การนวดแผนไทย และอื่น ๆ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ รวมถึงตรวจดูว่ามีอาการแทรกซ้อนใด ๆ หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้อย่างเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด


การป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

  1. หมั่นออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการปวดเมื่อย
  2. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ
  3. เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเสียใหม่ โดยจากที่เคยนั่งอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ให้หาเวลาไปเดินผ่อนคลายกล้ามเนื้อและพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมงกำลังดี
  4. หากพบว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถหายได้จากการยืดกล้ามเนื้อ การปรับสรีระการทำงาน หรือการดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมโดยทันที

 

  1. ไม่ควรนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ

หากเริ่มรู้สึกปวดเมื่อย ควรพักการทำงานเพื่อผ่อนคลายร่างกายและสมอง อย่างการลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปสูดอากาศด้านนอกบ้าง ไม่ควรนั่งทำงานติดกันนานเกินไป

  1. นั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง

การนั่งทำงาน ไม่ควรนั่งหลังค่อมหรือนั่งเอนหลัง เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการล้าและเสียบุคลิก ควรจะนั่งหลังตรง ซึ่งไม่เพียงช่วยลดอาการปวดหลัง แต่ยังทำให้สุขภาพหมอนรองกระดูกดีขึ้น ป้องกันโรคข้อ บรรเทาอาการปวดศีรษะ ทำให้การไหลเวียนของออกซิเจนดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้อีกด้วย

  1. ไม่ควรเพ่งหน้าจอคอมนานๆ

กล้ามเนื้อร่างกายยังต้องการพักผ่อน สายตาเองก็เช่นกัน จึงไม่ควรเพ่งจอคอมนานหรือใกล้จนเกินไป ควรพักสายตาทุกๆ 1 ชั่วโมง เพราะหากเราเพ่งสายตากับจอคอมนานเกินไป อาจส่งผลทำให้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อตาและปวดศีรษะได้

  1. ปรับสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้น่าอยู่

บรรยากาศในห้องทำงานไม่ควรแออัดเกินไป มีอากาศถ่ายเทที่ดี ควรใช้โต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระ สำหรับแสงไฟในห้องควรจะมีความเหมาะสม ไม่จ้าหรือสลัวเกินไป จะช่วยถนอมสายตาได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญในห้องทำงานควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแสงแดดหรือแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาในห้องโดยตรง เพราะแสงที่สว่างเกินไปจะก่อให้เกิดแสงสะท้อนที่จอได้ง่าย ทำให้รู้สึก ไม่สบายตาได้

  1. ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกีฬาที่ช่วยในเรื่องของการยืดเส้นและสร้างความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแล้ว ยังป้องกันเอ็นและข้อยึด ช่วยผ่อนคลายความเครียด และสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้อีกด้วย

  1. รักษาด้วยการใช้ยา

สำหรับคนที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมที่เริ่มรุนแรงขึ้นแล้ว อาจต้องได้รับยาในการรักษา เช่น ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ยาคลายเครียด โดยยาเหล่านี้ควรผ่านการพิจารณาและสั่งโดยแพทย์ผู้วินิจฉัยเท่านั้น

  1. รักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

เป็นการรักษาด้วยการใช้เครื่องมือทางกายภาพ เช่น Ultrasound เครื่องดึงคอ หรือการรักษาด้วยการฝังเข็มแบบตะวันตก และการสอนท่าบริหาร เพื่อการป้องกันและรักษา ในเคสที่เป็นมานานเรื้อรังยังมีการสอนหายใจ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย

  1. รักษาด้วย Shock Wave

คลื่นกระแทก (Shock Wave) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดระยะเรื้อรังที่ผ่านการรักษาต่างๆ มาแล้วไม่ดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) อาการปวดข้อศอก เอ็นข้อศอกอักเสบ พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา ปวดฝ่าเท้าเรื้อรัง โรครองช้ำ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดเข่า บาดเจ็บจากกีฬา เป็นต้น

ข้อห้ามและอาการหลังจากการนวด

1024 683 admin

การนวดแผนไทย หรือ นวดด้วยเก้าอี้นวดไฟฟ้า เป็นการบำบัดและรักษา โดยจะเน้นในลักษณะการกด การคลึง การบีบ การดัด การดึง และการอบ ประคบ เพื่อการรักษา ฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้น เป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงปราศจากโรค

เชื่อว่าหลายๆท่านคงจะเคยได้รับการนวดทั่วไป นวดแผนไทยบ หรือนวด โดย เก้าอี้นวดไฟฟ้า มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการนวดเพื่อบำบัด รักษาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆเช่น ปวดบ่า ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว หรือส่วนอื่นๆของร่างกายเป็นต้น หลายครั้งที่เราจะรู้สึกว่า หลังรับการนวดแล้วอาการปวดส่วนต่างๆนั้นมีอาการปวดลดลงหาย หรือดีขึ้น รู้สึกร่างกายได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดอาการปวดตึงส่วนต่างๆของร่างกาย รู้สึกถึงความสบายกาย และสบายใจหลังการรับการรักษา ซึ่งนับว่าล้วนแต่เป็นข้อดีของการนวดทั้งสิ้น

ข้อห้ามในการนวดแผนไทย หรือ นวดด้วยเก้าอี้นวดไฟฟ้า

ในกรณีที่มีอาการเหล่านี้ ห้ามทำการนวด อาจเกิดอันตรายได้

  1. โรคติดเชื้อมีไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ปวด บวม แดง ร้อน
  2. โรคผิวหนัง เพราะจะทำให้เชื้อแพร่ออกไปบริเวณเบาะหนัง และแพร่มาสู่ผู้นวดได้
  3. ขณะมีอาการอักเสบอยู่แล้วถ้าทำการนวดซ้ำ จะทำให้การอักเสบมากขึ้น
  4. บริเวณที่มีบาดแผลห้ามนวด อาจทำให้แผลซ้ำ หรือแผลปริแยก
  5. บริเวณที่เป็นมะเร็ง จะทำให้มะเร็งแพร่ออกไป

อาการหลังการนวดแบบไหนที่เป็นผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการรักษาด้วยการนวด ที่พบบ่อย ก็คือ อาการระบมหลังการนวด เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?

  1. ผู้มารับการนวดมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว คล้ายจะมีไข้ แล้วมานวด มีไข้ หรือมีไข้ต่ำๆแล้วมานวด หมอนวดจึงต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายค่าความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิ และอัตราการหายใจการนวดเพื่อเป็นการคัดกรองโรคหรืออาการต้องห้ามนวดเพื่อลดความรุนแรงหลังการนวด
  2. อาการอักเสบของร่างกายผู้ถูกนวดคือ จะมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เช่น อาการกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบเฉียบพลัน หรือในขณะที่มีอาการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกายไม่ควรนวดรุนแรง ควรใช้เพียงการการประคบเย็นใน 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการบาดเจ็บ และหลังจากนั้นควรใช้การประคบร้อนเพื่อลดอาการปวด ตึงของกเกินไปกล้ามเนื้อ
  3. จากสาเหตุการกดนวด ด้วยน้ำหนักมือ แรงเกินไป โดยผู้ถูกนวดสามารถแจ้งหมอนวดว่า แรงเกินไป มีอาการเจ็บจากการนวดในขณะที่กำลังนวด เพื่อที่หมอนวดจะได้ทราบว่าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บจะได้ผ่อนน้ำหนักมือให้เบาลง หรือ ถ้าเป็นเก้าอี้นวดไฟฟ้า หรือ เครื่องนวดไฟฟ้า ผู้นวดทำการลด หรือ ปรับ ระดับการนวดให้เหมาะสมต่อสภาพร่างกายในขณะนั้น ก็จะช่วยลดอาการบาดเจ็บลงได้ขณะกำลังนวดเช่นกัน
  4. เป็นการนวดรักษาลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อมักจะพบอาการระบมหลังการนวดได้ง่ายกว่าการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และมักพบบ่อยในผู้ที่มารับการนวดเป็นการนวดครั้งแรก หรือห่างหายจากการนวดมานาน กล้ามเนื้อไม่คุ้นชินกับการนวด เนื่องจากผู้รับการนวดแต่ละคน มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไม่เท่ากัน ดังนั้น หมอนวดควรต้องประเมินกล้ามเนื้อของผู้ถูกนวด ว่าควรใช้น้ำหนักมือลงแรงกด หรือควรเลือกการกดนวดแบบไหนที่เหมาะสมแก่ผู้มารับบริการการนวดแต่ละรายต่างกัน

แล้วหลังรับบริการนวด จะรักษาหรือดูแลตัวเองอย่างไร?

ปกติแล้ว อาการไม่พึงประสงค์หลังการนวดที่พบบ่อย ได้แก่ อาการกล้ามเนื้อระบมหลังการนวด มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกตัวว่าไม่มีแรงหลังจากการนวด และ/หรือ มีไข้หลังการนวด โดยปกติอาการพวกนี้สามารถเกิดขึ้นได้และหายได้เองภายใน 1 ถึง 2 วันหลังการนวด โดยไม่ต้องรับประทานยาบรรเทาปวด อาจใช้เพียงการประคบ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆประคบบริเวณที่ปวด ไม่ควรอาบน้ำทันที แนะนำให้อาบหลัง 2 ชม.ไปแล้ว ควรดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ หลังการนวด และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการใช้งานกล้ามเนื้อ ลดการทำงานหนัก และหลีกเลี่ยงการตากแดด ตากฝน เพื่อป้องกันการเป็นไข้ อาการก็จะสามารถหายได้เอง แต่หากมีมีอาการรุนแรงและเป็นอยู่หลายวัน ควรรับประทานยาบรรเทาปวดได้ ถ้ายังไม่หายควรไปรับการปรึกษากับแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด หรือควรทำการส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

ที่มา https://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/203

 

 

วิธีการดูแล และ การซ่อมแซมรักษาตัวหนังเก้าอี้นวดไฟฟ้า

768 1024 admin

เก้าอี้นวด หนึ่ง ตัวเลือกที่ดีในการรักษาสุขภาพร่างกาย ยามที่ ร่างกายเมื่อล้าจากการทำงาน หรือ การออกกำลังกายอย่างหนัก

 

วิธีการรักษาเก้าอี้นวดเบื้องต้น?

  1. ลดการเคลื่อนไหว:ทำไมถึงบอกว่าการลดการเคลื่อนไหวเป็นการบำรุงรักษาเก้าอี้นวด? เหตุผลง่ายๆ: เนื่องจากการออกแบบที่แม่นยำ อุปกรณ์ที่ซับซ้อน และน้ำหนักและปริมาตรที่มากของเก้าอี้นวดขนาดใหญ่บางรุ่น การลดการเคลื่อนไหวไม่เพียงสามารถหลีกเลี่ยงการกระแทก รอยขีดข่วน และความเสียหายจากการเคลื่อนไหวอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับโครงสร้างภายในที่แม่นยำ . ขอแนะนำให้คุณวางตำแหน่งเก้าอี้นวดที่บ้านก่อนซื้อเก้าอี้นวด หลังจากซื้อแล้ว ให้วางผลิตภัณฑ์เข้าที่ในครั้งเดียว จากนั้นคุณจะไม่เคลื่อนย้ายเก้าอี้นวดได้ง่าย นี่คือสิ่งสำคัญที่สุดในการปกป้องและบำรุงรักษาเก้าอี้นวด ขั้นตอนนึง

2. อย่าใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น:

หน้าที่หลักของเก้าอี้นวดระดับไฮเอนด์คือการให้บริการนวดและสถานที่พักผ่อนระยะสั้นแก่เจ้าของ ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะไม่ใช้เก้าอี้นวดเพื่อ จุดประสงค์อื่น (เช่น ให้เด็กนอนหรือกระโดดขึ้นไปบนเก้าอี้) และอย่าวางวัตถุอื่นบนเก้าอี้นวด สิ่งของต่างๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามวางของหนัก และของมีคม) อาจทำให้เครื่องนวดเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้น สิ่งสำคัญประการที่สองในการบำรุงรักษาเก้าอี้นวดคือต้องเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ

3. ทำความสะอาดเป็นประจำ:

การทำความสะอาดเก้าอี้นวดมืออาชีพเป็นประจำก็เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงรักษาเก้าอี้นวดเช่นกัน เมื่อทำความสะอาดเก้าอี้นวด ก่อนอื่นคุณควรใช้ผ้าแห้งนุ่มๆ แปรงหรือเครื่องดูดฝุ่นเพื่อขจัดฝุ่นและเส้นผมบนเก้าอี้นวด จากนั้นใช้น้ำอุ่นกับผ้านุ่มๆ เพื่อทำความสะอาดหนังบนพื้นผิวของที่นั่งและชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อพบคราบฝังแน่นมากขึ้น ขอแนะนำให้ใช้ผงซักฟอกที่เป็นกลางเพื่อขจัดคราบ จากนั้นทำความสะอาดด้วย               น้ำเปล่าแล้วเช็ดส่วนนั้นด้วยผ้าแห้ง เท่านี้ก็เรียบร้อย

4. สภาพแวดล้อมของตำแหน่ง:

ไม่ควรวางเก้าอี้นวดในที่ชื้นหรือโดนแดด ควรวางไว้ในห้องที่แห้งและมีอากาศถ่ายเทเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง สิ่งนี้ดีมากสำหรับการป้องกันการเกิดออกซิเดชันก่อนเวลาอันควรของเก้าอี้นวด ทำให้มั่นใจได้ถึงการใช้งานและอายุการใช้งานอย่างปลอดภัย

วิธีการซ่อมแซมพื้นผิวหนังที่เสียหายของเก้าอี้นวด?

วิธีที่ 1: เปลี่ยนหนังผืนใหม่ นำเครื่องหนังเก่าออกทั้งหมด แล้วขอให้ผู้เชี่ยวชาญหุ้มหนังใหม่อีกชั้นหนึ่ง

วิธีที่ 2: ใช้ปากกาสี แต้มที่หนังที่ลอกลอกแล้วทั้งหมดด้วยสีเดียวกับสีเดิม เป็นการประหยัดที่จะต้องซื้อหนังมาเปลี่ยน

วิธีที่ 3: แปะส่วนที่ลอกออกด้วยสีที่เข้มขึ้น ถอดแยกชิ้นส่วนของซองหนังทั้งหมด ทำการปะด้วยตนเองบนซองหนังที่ถอดประกอบ แล้วใส่เคสหลังจากปะเสร็จ

วิธีทำความสะอาด หนัง เก้าอี้นวด?

1. ควรทำความสะอาดคราบหนักในทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงคราบฝังแน่นและส่งผลต่อความสวยงามของเก้าอี้นวด โดยเฉพาะคราบเหงื่อ หากไม่ทำความสะอาดเป็นเวลานานจะกัดกร่อนพื้นผิวของเก้าอี้นวดได้ ดังนั้น พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคราบเหงื่อ และเช็ดออกทันทีเมื่อสัมผัส เก้าอี้นวดโดยทั่วไปทำจากหนัง PU ซึ่งทำความสะอาดได้ง่ายและสามารถเช็ดทำความสะอาดได้ด้วยผ้านุ่มสะอาดและน้ำ

2. หากคราบสกปรกขจัดไม่ออกหรือไม่สะอาด ให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดเก้าอี้นวดโดยเฉพาะ ซึ่งสารที่ทำความสะอาดจะละลายคราบฝังแน่นให้หลุดออก จากนั้นใช้ผ้านุ่มสะอาดจุ่มน้ำถูวนเบาๆ หลังจากทำความสะอาดแล้ว คุณสามารถใช้น้ำยาเคลือบสำหรับเครื่องหนังเพื่อบำรุงรักษาเครื่องหนังได้ มีบทบาทแยกน้ำและน้ำมันและชะลอการเกิดออกซิเดชันและการแข็งตัวของสินค้าเครื่องหนัง ยืดอายุการใช้งานของหนังหุ้มเก้าอี้นวดได้ในระดับหนึ่ง

สุดท้าย หาก หนังของเก้าอี้นวดมีคราบฝังแน่น ให้ใช้วิธีการเช็ดธรรมดาเพื่อแก้ปัญหาผ้า คุณสามารถบิดผ้าด้วยน้ำอุ่นและผงซักฟอกในปริมาณที่เหมาะสม จากนั้นเช็ดอีกครั้งด้วยการตบเบาๆ แล้วเช็ดด้วย ผ้าแห้งอีกที รอให้แห้งตามธรรมชาติก่อนใช้งาน คือ ดีสุด

นวดแผนไทยคืออะไร

1024 683 admin

นวดแผนไทยคืออะไร?

การนวดแผนไทย (Thai Massage) หรือเรียกอีกอย่างว่าการนวดแผนโบราณ เป็นหนึ่งในรูปแบบการนวดบำบัด โดยให้ผู้รับบริการนอนราบบนเสื่อหรือฝูกนอนที่พื้น แล้วให้ผู้นวด บีบ คลึง และกดตามลำตัว เพื่อกระตุ้นอวัยวะภายในและเพิ่มความยืนหยุ่นของกล้ามเนื้อ

ผู้ให้บริการนวดแผนไทยจะใช้มือ นิ้วหัวแม่มือ ศอก ท่อนแขน หรือแม้แต่ฝ่าเท้าประกอบในการนวดกล้ามเนื้อ รวมถึงมีการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าการนวดประเภทอื่นๆ ที่ให้ผู้รับบริการนอนราบไปเฉยๆ

แม้จะมีชื่อว่าการนวดแผนไทย แต่ลักษณะความเชื่อนั้นคล้ายคลึงกับศาสตร์การแพทย์แผนจีน คือเชื่อว่าในร่างกายมีพลังงานไหลเวียนผ่านส่วนต่างๆ การนวดคลึงและยืดเหยียดร่างกายอาจช่วยให้พลังงาน และเลือดไหลเวียนดีขึ้นนั่นเอง

นวดแผนไทยมีกี่ประเภท?

การนวดแผนไทยสามารถแบ่งได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะแบ่งด้วยวิธีไหน โดยหากแบ่งให้เข้าได้ง่าย คือการแบ่งตามสรรพคุณ ซึ่งแบ่งได้หลักๆ 3 ประเภท ดังนี้

  • นวดเพื่อสุขภาพ เป็นการนวดที่สามารถนวดได้ทุกคน รวมถึงผู้สูงอายุ ช่วยกระตุ้นระบบของร่างกายให้ผ่อนคลาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
  • นวดเพื่อการรักษา เป็นการเน้นบรรเทากลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดกล้ามเนื้อ ไหล่ติด เข่าตึง
  • นวดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการนวดฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคพาร์กินสัน
การนวดฟื้นฟูร่างกาย

การนวดฟื้นฟูร่างกาย

นวดแผนไทยต่างจากการนวดประเภทอื่นอย่างไร?

การนวดมีด้วยกันหลายแบบ แม้ส่วนใหญ่จะมีจุดประสงค์เพื่อความผ่อนคลายเป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลัก แต่การนวดแผนไทยอาจต่างจากการนวดประเภทอื่นเล็กน้อย ดังนี้

  • การนวดแผนไทยนอนราบกับพื้น แต่การนวดในหลายๆ ประเภทมักให้นอนบนเตียง หรือโต๊ะนวด
  • การนวดแผนไทยยังใส่เสื้อผ้าไว้ได้ โดยอาจใส่เสื้อผ้าหลวมให้ขยับตัวได้สะดวก ในขณะที่การนวดบางประเภทอาจต้องถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด
  • การนวดแผนไทยไม่มีการใช้น้ำมันนวด ต่างกับการนวดน้ำมัน (Oil Massage) ที่ใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อให้ความผ่อนคลาย เพราะน้ำมันนวดอาจส่งผลต่อการควบคุมแรงกดของผู้นวดแผนไทย
  • การนวดแผนไทยขยับร่างกายเยอะ เช่น อาจมีการปรับท่าทางคล้ายท่าโยคะ มีการดึง หรือกดเพื่อให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ต่างกับการนวดหลายๆ ประเภทที่มักจะนอนเฉยๆ เพียงอย่างเดียว
การนวดน้ำมัน ใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อให้ความผ่อนคลาย

การนวดน้ำมัน ใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อให้ความผ่อนคลาย

ประโยชน์ของการนวดแผนไทย

การนวดแผนไทยมีประโยชน์หลายข้อ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนวด ดังนี้

  • ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ทั้งคอ บ่า และส่วนอื่นๆ ทั่วร่างกาย
  • ช่วยลดอาการปวดตึงตามข้อ มีการศึกษาทดลองให้ผู้เข้าร่วมที่มีอาการข้อเข่าอักเสบ เข้ารับการนวดแผนไทยร่วมกับการออกกำลังกายด้วยไม้เท้าเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าผู้เข้าร่วมรู้สึกปวดน้อยลง และเดินได้ดีขึ้น
  • บรรเทาอาการปวดหลัง การนวดแผนไทยมีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดหลังและรักษาร่วมกับวิธีอื่นๆ ได้ มีการศึกษากับคนที่มีอาการปวดหลัง 120 คน โดยครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เข้ารับการนวดแผนไทยสัปดาห์ละ 2 ครั้งนาน 4 สัปดาห์ พบว่าอาการปวดหลังลดลงอย่างมีนัยะสำคัญ บางการศึกษาพบว่าอาจช่วยลดอาการปวดหลังส่วนบนด้วย แต่อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดหลังต่อเนื่องมานาน ควรไปพบแพทย์ก่อนนวดแผนไทย
  • มีส่วนช่วยลดอาการปวดหัว มีการศึกษาแสดงว่าผู้ที่เข้ารับการนวดแผนไทย 9 ครั้งใน 3 สัปดาห์ สามารถลดอาการปวดหัวจากความเครียดหรือไมเกรนลงได้
  • ช่วยขยายขอบเขตการเคลื่อนไหวร่างกาย การนวดแผนไทยประกอบไปด้วยการกด บีบ และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ไม่ยึดเกร็งง่ายเกินไป
  • มีส่วนช่วยลดความเครียด แม้การนวดแผนไทยจะใช้น้ำหนักมากกว่าการนวดประเภทอื่น แต่สำหรับหลายคนก็รู้สึกผ่อนคลายจากการนวดแผนไทย เคยมีนักวิจัยทำการสแกนสมองผู้ที่เข้ารับการนวดแผนไทย พบว่าช่วยลดความวิตกกังวลได้ ทั้งนี้การลดความเครียดอาจได้ผลดีขึ้นเมื่อพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า นวดแผนไทยมีการเคลื่อนไหวเกือบทั้งร่างกายเช่นเดียวกับโยคะ ทำให้ผู้ที่รับการนวดแผนไทยอาจรู้สึกกระปรี้กระเป่ามากขึ้นด้วย
  • มีส่วนช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น การนวดแผนไทยช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองดีขึ้นผ่านการยืดเหยียด ทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์
  • อาจมีส่วนช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง การศึกษาในปี 2012 พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับการนวดแผนไทยเป็นประจำ อาจช่วยให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น รวมถึงอาจลดอาการปวด ช่วยให้นอนหลับดีขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนเสมอ

นอกจากนี้ ประโยชน์อื่นที่อาจได้รับจากการนวดแผนไทย เช่น ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ระบบย่อยอาหารดีขึ้น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรง หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ของร่างกาย ควรไปพบแพทย์ก่อนตัดสินใจรักษาด้วยการนวดแผนไทย เพราะโรคบางชนิดไม่อาจรุนแรงมากขึ้นหากรับการนวดแผนไทย

บุคคลที่ไม่ควรนวดแผนไทย?

การนวดแผนไทยมีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือด และกล้ามเนื้อ จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิดหรือเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผู้ป่วยโรคความดันสูง
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคกระดูกพรุน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่เพิ่งรับการผ่าตัดมาไม่นาน
  • ผู้ที่มีแผลเปิด
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้ที่กำลังอยู่ระหว่างตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยโรคเลือด
  • ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือด
  • ผู้ที่มีแผลไฟไหม้
  • ผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)
  • ผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อจากการมีไข้
  • ผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน บวม แดง

หากใครอยู่ในเงื่อนไขดังกล่าว ควรหลีกเลี่ยงการนวดแผนไทยจนกว่าจะรักษาให้หายดี หรือปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเพื่อประเมินความเหมาะสมก่อนรับบริการ

ขั้นตอนการนวดแผนไทย

ขั้นตอนการนวดแผนไทยอาจแตกต่างกันออกไปตามเทคนิคของผู้ให้บริการ และประเภทของการนวด โดยขั้นตอนหลักๆ อาจมีดังนี้

  1. ผู้ให้บริการอาจให้คุณเปลี่ยนเป็นชุดที่ทางสถานที่เตรียมไว้ให้ หรือบางกรณีอาจให้สวมชุดที่หลวมๆ เคลื่อนไหวสะดวกของคุณเอง
  2. เมื่อเปลี่ยนชุดแล้ว ผู้ให้บริการจะเตรียมเสื่อนอน หรือฝูกนอนไว้ให้ที่พื้น รวมถึงหมอนรองศีรษะด้วย
  3. ผู้ให้บริการจะค่อยๆ ยืดเหยียดส่วนต่างๆ ของร่างกายคุณโดยอาจใช้แรงกดช่วย
  4. ผู้ให้บริการจะใช้มือ นิ้วหัวแม่มือ ข้อศอก และหัวเข่า เพื่อกดคลึงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  5. ในบางกรณีผู้ให้บริการอาจมีการขยับร่างกายคล้ายกับท่าโยคะผ่านการดึงและกด
  6. ขั้นตอนเหล่านี้อาจทำให้บางคนรู้สึกเจ็บหรือปวดกล้ามเนื้อได้ โดยสามารถแจ้งกับผู้ให้บริการเพื่อลดการลงน้ำหนัก

สำหรับผู้ที่มีอาการบาดเจ็บ หรือส่วนไหนของร่างกายที่เจ็บง่ายเป็นพิเศษ ควรแจ้งกับผู้ให้บริการก่อนเริ่มการนวดทุกครั้ง

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการนวดแผนไทย

การนวดแผนไทยมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นบางประการ เช่นเดียวกับการนวดหลายๆ ประเภท ดังนี้

  • อาจเกิดอันตรายกับผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากการนวดแผนไทยทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลง ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบเลือดและหัวใจจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • อาจเกิดอาการปวด หากผู้นวดมือหนัก หรือใช้น้ำหนักไม่เหมาะกับร่างกายของคุณ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหรือกระดูกได้

อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ได้รับความผ่อนคลายและประโยชน์จากการนวดแผนไทยมากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น แต่ก็ควรปรึกษาผู้นวดแผนไทยก่อนตัดสินใจใช้บริการ

นวดแผนไทยแล้วเจ็บเกิดจากอะไร?

หลายคนมาใช้บริการนวดแผนไทยโดยคาดหวังว่าจะช่วยบรรเทาอาการปวดหรืออาการอื่นๆ แต่หลังนวดเสร็จกลับมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อจนเกิดความกังวล ต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการปวดหลังนวดแผนไทย

  • นวดแผนไทยขณะเป็นไข้ โดยปกติคนที่เป็นไข้จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวและปวดตามร่างกาย และอาจคิดว่าการนวดแผนไทยจะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ความจริงแล้วหากนวดแผนไทยขณะมีไข้อาจทำให้อาการปวดรุนแรกว่าเดิมได้
  • นวดขณะปวดกล้ามเนื้อ ผู้ที่นวดแผนไทยเพื่อการรักษา เช่น ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ มีแนวโน้มจะระบมกล้ามเนื้อหลังรับการนวดได้ง่ายกว่าคนอื่น
  • นวดแผนไทยหลังเกิดการอักเสบ หากเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นอักเสบเฉียบพลัน จนมีอาการปวด บวม แดง ไม่ควรรับการนวดแผนไทยทันที เพราะอาจทำให้ปวดมากขึ้นหลังนวดแผนไทย
  • นวดหรือกดแรงไป บางกรณีผู้นวดอาจลงน้ำหนักมากเกินไปจนทำให้เจ็บ คุณควรแจ้งกับผู้ให้บริการทันทีเพื่อลดน้ำหนักมือลง
  • มานวดแผนไทยครั้งแรก ผู้ที่มานวดแผนไทยครั้งแรก หรือแม้แต่ไม่ได้นวดแผนไทยมานานมากแล้วอาจยังไม่ชินกับการลงน้ำหนักของผู้ให้บริการ ทำให้เกิดการระบมหลังรับบริการได้

ต้องนวดแผนไทยบ่อยไหม?

จำนวนครั้งและความถี่ของการนวดแผนไทยนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของแต่ละคน แต่โดยทั่วไปหากต้องการนวดเพื่อสุขภาพก็สามารถนวดแผนไทยได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือในกรณีที่นวดเพื่อรักษาอาการปวด อาจนวดวันเว้นวัน และค่อยๆ เว้นระยะห่างขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออาการปวดดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะนวดแผนไทยเพื่อจุดประสงค์ใด ก็ไม่ควรนวดติดต่อกันทุกวัน ควรเว้นวันให้กล้ามเนื้อได้พักบ้าง อาจปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการนวดแผนไทยเพื่อวางแผนการนวดที่เหมาะสมกับตัวเอง

โดยสรุปแล้ว การนวดแผนไทยถือเป็นศาสตร์โบราณอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์หลากหลาย เช่น ลดอาการปวดเมื่อย ปวดหัว เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด วิตกกังวล ซึ่งปัจจุบันได้รับการยอมรับจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

แต่ทั้งนี้ ก็อาจไม่ได้เหมาะกับทุกคนเสมอไป โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพและอาจได้รับผลกระทบจากการนวดแผนไทย ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนนัดหมายนวดเสมอ

10 การนวด ที่นิยมในปัจจุบัน

1024 683 admin

มาทำความรู้จักกับการนวดทั้ง 10 รูปแบบที่นิยมในปัจจุบัน การนวดแต่ละรูปแบบจะมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น เน้นสร้างความผ่อนคลาย และเน้นแก้อาการปวดเมื่อยต่างๆ นวดจับเส้น เป็นการนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเฉพาะจุด ไม่เน้นการผ่อนคลายแต่เน้นการบรรเทาอาการ

การนวดมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

การนวด เป็นศาสตร์การดูแลร่างกายที่ได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลก ทั้งฝั่งเอเชียและประเทศตะวันตก การนวดแต่ละชนิดจะมีเทคนิคอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อสร้างความผ่อนคลายในรูปแบบที่แตกต่างกัน ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการนวดรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้สามารถมอบความผ่อนคลายหรือช่วยลดอาการปวดเมื่อยร่างกายต่างๆ ของแต่ละบุคคลได้มากขึ้น

การนวดยอดนิยมทั้ง 10 ประเภท ดังนี้:

 

  1. นวดแผนไทย (Thai Massage)

การนวดแผนไทย ได้ชื่อว่าเป็นการนวดที่ “แอคทีฟ” มากที่สุด เพราะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างเทอราปิสและผู้รับบริการตลอดการนวด เทอราปิสจะใช้ท่ายืดกล้ามเนื้อคล้ายโยคะ ที่จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและสร้างความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อที่เมื่อยล้า อีกทั้งยังช่วยบรรเทาความเครียด ขจัดอารมณ์ด้านลม และปรับอารมณ์ให้สดชื่นขึ้น

 

  1. นวดสวีดิช (Swedish massage)

การนวดสวีดิช เป็นศาสตร์การนวดของฝั่งตะวันตก ที่มีการใช้เทคนิคการนวดอย่างเป็นจังหวะ เพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย การนวดชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความผ่อนคลายในระดับที่อ่อนโยนกว่าการนวดแผนไทย

การนวดสวีดิชจะช่วยคลายปมกล้ามเนื้อและช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อจากอาการบาดเจ็บ พร้อมทั้งกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต ลดอาการปวดศีรษะ ทำให้จิตใจสงบ

 

  1. นวดน้ำมันอโรมา (Aromatherapy Massage)

การนวดน้ำมันอโรมา เป็นการนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติที่มีกลิ่นหอม เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการผ่อนคลายให้กับร่างกายและจิตใจ เมื่อน้ำมันหอมระเหยซึมเข้าสู่ผิวหนังจะทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยคลายความวิตกกังวล และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวเรียบเนียนยิ่งขึ้น

การนวดน้ำมันอโรมา เป็นการนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันหอมระเหย

การนวดน้ำมันอโรมา เป็นการนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติที่ใช้ประกอบการนวดจะมีหลายชนิด เช่น น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันลาเวนเดอร์ และอื่นๆ โดยสารสกัดเหล่านี้จะมี

 

  1. นวดสปอร์ต (Sports Massage)

สำหรับนักกีฬามืออาชีพที่ทำการฝึกซ้อมอย่างหนักและผู้ที่รักการออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ บริการนวดสปอร์ตเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการฝึกซ้อม ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บ และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี

การนวดสปอร์ตสามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยจะไม่ได้เน้นการสร้างความผ่อนคลาย แต่จะเป็นการรักษาความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ หากคุณต้องการดูแลร่างกายอย่างเต็มรูปแบบ คุณสามารถเลือกบริการนวดจับเส้น ที่เน้นการนวดตามเส้นพลังงาน หรือ เส้นประธานสิบ โดยการนวดชนิดนี้จะช่วยเพิ่มสมาธิให้กับนักกีฬา และช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ทำให้รู้สึกสดชื่น กระเปรี้กระเปร่ามากขึ้น

 

  1. นวดจับเส้น/รีดเส้น (Nerve Touch Massage)

การนวดจับเส้นหรือนวดรีดเส้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือเจ็บปวดเฉพาะจุด ตามส่วนของร่างกาย โดยเทอราปิสจะเน้นการกดนวดกล้ามเนื้อเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณที่มีอาการปวดได้ดียิ่งขึ้น ทำให้อาการปวดบรรเทาลง พร้อมทั้งสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและช่วยรักษาปมกล้ามเนื้อในระยะยาว

 

  1. นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า (Foot Reflexology Massage)

การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า จากยุคจักรพรรดิหวงตี้ ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ถัง จากศาสตร์จีนสู่ญี่ปุ่นดัดแปลงใช้เข็มแทงฝ่าเท้า หลังจากนั้นการศาสตร์นี้ก็ได้ความนิยมกันอย่างแพร่หลาย จากหลักฐานอียิปต์ อเมริกา มาถึงประเทศไทย โดยนายวิลเลี่ยม เอช ฟริตเจอราลด์ แพทย์ชาวอเมริกัน เจ้าของศาสตร์การนวดจุดสะท้อน หรือรักษาโรคจากแนวสะท้อนตามโซนที่ฮิตกันมากในปัจจุบัน การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า โดยจุดสะท้อนที่เท้ามีทั้งหมด 62 จุด กดเพื่อกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้ปกติ และการปรับสมดุลภายในร่างกาย

การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า โดยจุดสะท้อนที่เท้ามีทั้งหมด 62 จุด กดเพื่อกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ

การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า โดยจุดสะท้อนที่เท้ามีทั้งหมด 62 จุด กดเพื่อกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ

 

  1. นวดประคบด้วยหินร้อน (Hot Stone Massage)

การนวดประคบด้วยหินร้อนจะใช้เทคนิคที่คล้ายกับการนวดสวีดิช แต่จะมีการใช้หินร้อนประกอบการนวดเพื่อให้คุณผ่อนคลายได้ดียิ่งขึ้น ความร้อนจากหินจะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงตัวจากความเครียด และกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงระบบไหลเวียนโลหิตและระบบน้ำเหลือง นอกจากนี้ยังช่วยคลายความเครียด ทำให้รู้สึกเบาสบายตัว และช่วยขจัดอารมณ์ด้านลบได้

 

  1. นวดแก้ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome Massage)

การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน อาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งสะสมต่อเนื่อง จนเกิดอาการปวดเรื้อรังที่รักษายาก การนวดแก้ออฟฟิศซินโดรมจะช่วยคลายความเมื่อยล้าและช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ไหล่ และคอ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

  1. นวดกดจุดชิอัตสึ (Shiatsu Massage)

การนวดชิอัตสึ เป็นการนวดกดจุดตามเส้นพลังงานแบบญี่ปุ่น มีจุดประสงค์เพื่อคืนความสมดุลให้กับร่างกายและจิตใจด้วยการกระตุ้นการไหลเวียนของพลังชีวิต ซึ่งสามารถสร้างความผ่อนคลาย ช่วยบรรเทาความเครียดสะสม พร้อมทั้งทำให้อาการปวดศีรษะและอาการปวดไมเกรนดีขึ้น

 

  1. นวดศีรษะ หลัง ไหล่ / นวดคอ บ่า ไหล่

การนวดศีรษะ หลัง ไหล่ จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตั้งแต่ศีรษะ ขมับ บ่า หลังที่ทำให้เจ็บปวดและไม่สบายตัว ยืดเส้นเอ็น และกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยเรื้อรังหรือผู้ที่ต้องการผ่อนคลายลำตัวช่วงบน

การนวดศีรษะ หลัง ไหล่ จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตั้งแต่ศีรษะ ขมับ บ่า หลังที่ทำให้เจ็บปวดและไม่สบายตัว

การนวดศีรษะ หลัง ไหล่ จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตั้งแต่ศีรษะ ขมับ บ่า หลังที่ทำให้เจ็บปวดและไม่สบายตัว

บริการนวดศีรษะ หลัง ไหล่ มีประโยชน์ดังนี้:

  • คลายกล้ามเนื้อที่เกร็งตึงจากการทำงาน หรือการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณศีรษะได้ดีขึ้น ทำให้รู้สึกเบาสบายร่างกาย
  • ช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
  • ปรับอารมณ์ให้สดชื่น

 

การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า

500 500 admin

ศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อนเท้า เป็นศาสตร์ที่ถือกำเนิดมาจากชาวอียิปต์ จีน และ อินเดีย ที่มีการพบพระพุทธบาทที่จาลึกภาพแสดงการนวดผ่าเท้า และแพร่หลายไปยังหลายประเทศจนมาถึงประเทศไทยนานกว่า 20 ปีที่ผ่านมา

สืบเนื่องจากประชาชนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มมากขึ้น หันมาหาการแพทย์ทางเลือกแทนการรับประทานยาปฏิชีวนะในระบบการแพทย์สมัยใหม่ การกดจุดสะท้อน(Reflexology) จึงได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะประชาชนเล็งเห็นประโยชน์ที่ได้รับ และสิ่งที่สำคัญคือการนวดเท้าเป็นวิธีการทางธรรมชาติที่ หริอ มีได้ใช้อุปกรณ์เครื่องนวดผ่าเท้า เข้ามาอำนวยความสะดวกและปลอดภัย เป็นที่ประจักษ์กันมานานหลายปีแล้วว่าการนวดให้ผลการรักษาได้ ปัจจุบันการนวดกดจุดสะท้อนเท้าจัดอยู่ใน “แพทย์ทางเลือก”

ประเภทของ Reflexology แบ่งเป็น 3 ชนิด

1. การนวดกดจุดสะท้อนที่มือ

2. การนวดกดจุดสะท้อนที่หู

3. การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า

“ฝ่าเท้า” เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่สำคัญของร่างกายที่ช่วยรองรับน้ำหนักตัวทั้งหมด ยังเป็นที่ซ่อนแถบบำบัด “Zone Therapy” ที่ช่วยให้มนุษย์ทุกคนสามารถบำบัด โดยอาศัยแถบบำบัดหรือจุดบำบัดนี้ การกดจุดสะท้อนเท้าในลักษณะนี้จะต้องอาศัยกระบวนการที่เรียกว่า “กระบวนการสะท้อนกลับของร่างกาย หรือ reflexology”

การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า

เป็นกระบวนการที่สัมพันธ์กันภายในร่างกายของมนุษย์ คือ เท้ามนุษย์มีตำแหน่งการตอบสนองต่างๆ ซึ่งสัมพันธ์กับทุกส่วนของร่างกาย ดังนั้นการนวดกดจุดตำแหน่งต่างๆที่เท้า จึงสามารถวินิจฉัยได้ว่าส่วนใดของร่างกายเกิดความไม่สมดุลขึ้น ทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

การนวดกดจุดสะท้อนเท้า จึงมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้

1. เป็นการแก้ไขภาวะที่ไม่สมดุล เพื่อทำให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าอัศจรรย์

2. มีประโยชน์ในการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้ออย่างลึกๆ

3. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและการทำงานของต่อมน้ำเหลืองภายในร่างกาย กระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ปรับสมดุลของร่างกายให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ

4. ช่วยบำบัดและบรรเทาการเจ็บป่วยของร่างกาย ปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ ขับของเสียออกจากร่างกาย

5. ปรับการทำงานของประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกาย ป้องกันโรคอัมพฤตอัมพาต ปรับฮอร์โมนของร่างกายให้เป็นปกติ

วิธีการ นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

·   ใช้นิ้วกดลงบนจุดสะท้อนที่เท้า ที่เรียกว่าปลายประสาท โดยจุดสะท้อนเท้านั้นมีทั้งหมด 62 จุด แต่ละจุดเป็นปลายประสาทที่เชื่อมโยงไปยังอวัยวะที่สำคัญทั้งหมดในร่างกาย 62 อย่าง และมีความรู้สึกรับรู้ทั้งหมด 62 แบบ

·   เมื่อเราทำการกระตุ้นจุดที่เท้าจะส่งผลสะท้อนไปยังอวัยวะที่สัมพันธ์กับจุดนั้นโดยตรง เป็นผลให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ระบบร่างกายต่อเนื่อง ช่วยฟื้นฟูร่างกาย ปรับสมดุล ทำให้ร่างกายสุขภาพแข็งแรง

 

ข้อควรระวัง

·  ห้ามนวดในผู้ที่มีแผลเปิดตรงบริเวณที่จะทำการนวด เพราะแผลอาจติดเชื้อได้

·  ไม่ทำการนวดในกรณีผู้ป่วยกินข้าวอิ่มใหม่ๆ เพราะอาจมีผลให้ผู้ป่วยผะอืดผะอม อึดอัด ไม่สบายท้อง บางรายอาจอาเจียนได้ ดังนั้น จึงควรนวดหลังกินข้าวอิ่มอย่างน้อย 15-20 นาที

·  ไม่นวดในสตรีตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เพราะจะทำให้เกิดการแท้งได้

·  ห้ามนวดในคนที่มีหลอดเลือดดำอักเสบ เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดวิ่งไปอุดที่เส้นเลือดหัวใจ

·  ห้ามนวดในผู้ที่มีปัญหาเลือดออกง่าย เช่น ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ

 

การดูแลรักษาสุขภาพเท้าเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน

1.ไม่ควรให้เท้าเย็น ถ้าเท้าเย็นแสดงว่าสุขภาพเท้าบกพร่อง

2.อย่าให้มีรอยด้าน มีตาปลา มีรอยแตก

3.อย่าใส่รองเท้ารัดแน่นจนเกินไป

4.อย่าใส่รองเท้าสูงนานเกินไป

5.เวลาอาบน้ำให้อาบเท้าก่อน

 
ที่มา 

https://thaicam.go.th
https://hellokhunmor.com